วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2561



😊แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4😊
🔰🔰🔰


1.จงอธิบายถึงการจัดการศึกษาปฐมวัยในช่วงไม่มีระบบโรงเรียน
ตอบ ยุคก่อนมีระบบโรงเรียน การจัดการศึกษาทุกระดับ รวมทั้งระดับปฐมวัย ยังไม่มีการดำเนินการอย่างเป็นแบบแผน ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การศึกษาแบบไม่เป็นทางการ คือ ไม่มีการกดหนดหลักเกณฑ์ที่แน่นอน ไม่มีโรงเรียนสำหรับเรียนโดยเฉพาะ ไม่มีหลักสูตร ไม่มีการบังคับ เป็นการสอนแบบให้เปล่า ไม่มีค่าจ้างหรือค่าเล่าเรียน การเรียนจึงขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้เรียน เนื้อหาที่เรียนเน้นด้านพุทธิศึกษาและวิชาชีพ เป็นหลัก


2.จงอธิบายถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตอบ  พระองค์ได้ทรงตระหนัก เพื่อปรับปรุงคนในประเทศให้มีความรู้ความสามารถจะช่วยให้ ประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้าในทุกๆ ด้าน ดังพระราชดำรัสที่ว่า “ วิชาหนังสือเป็นวิชาที่น่านับถือและเป็นที่น่าสรรเสริญมาแต่โบราณว่า เป็นวิชาอย่างประเสริฐซึ่งผู้ยิ่งใหญ่นับแต่ พระมหากษัตริย์เป็นต้นมา ตลอดจนราษฎรพลเมืองสมควรและจำเป็นจะต้องรู้เพราะเป็นวิชาที่อาจทำให้การทั้งปวงสำเร็จในทุกสิ่งทุกอย่าง… (ประไพ เอกอุ่น. 2542 : 83 - 84) การที่พระองค์ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษา จึงได้มีการจัดการศึกษาอย่างมีระเบียบแบบแผน


3.จงอธิบายถึง วิชาหรือเนื้อหาสาระ 10อย่าง ของโรงเลี้ยงเด็ก พ.ศ.2433
 ตอบ 1.ให้อ่านหนังสืออก เขียนได้
         2.ให้คิดเลขเป็น
         3.ให้รู้จักรักษาอิริยาบถ
         4.ให้หุงข้าวต้มแกงเป็น
         5.ให้เย็บผ้าเป็น
         6.ให้ขึ้นต้นไม้เป็น
         7.ให้ว่ายน้ำเป็น
         8.ให้ปลูกทับกระท่อมที่อยู่เป็น
         9.ให้รู้จักปลูกต้นไม้
       10.ให้รู้จักเลี้ยงสัตว์


4.การจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาในโครงการศึกษา พ.ศ.2441 แบ่งออกเป็นกี่ระดับ จงอธิบาย
ตอบ 4 ระดับ
          1.การเล่าเรียนเบื้องแรก (มูลศึกษา)
          2.การเล่าเรียนเบื้องต้น (ประถมศึกษา)
          3.การเล่าเรียนเบื้องกลาง (มัธยมศึกษา)
          4.การเล่าเรียนเบื้องสูง (อุดมศึกษา)


5.ในยุคเริ่มต้นของการจัดอนุบาลเอกชน พ.ศ.2454-2470 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ ในช่วงนี้กลุ่มมิชชั่นนารีได้เข้ามาจัดตั้งโรงเเรียนขึ้นมาในประเทศไทย ทำให้มีการเปิดแผนกอนุบาลขึ้นในโรงเรียนเอกชนหลายแห่ง ในช่วงที่มีโรงเรียนราษฎร์เกิดขึ้นอย่างมากมายนั้น การจัดการศึกษาของโรงเรียนแต่ละแห่งล้วนมีความแตกต่างกัน การจัดการเรียนการสอนวิชาต่างๆก็สอนตามความพอใจและสอนตามความสามารถของแต่ละโรงเรียน เกิดปัญหาขาดความเป็นเอกภาพด้านการเรียนการสอนรัฐบาลจึงได้ตราพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ขึ้นในปี พ.ศ.2461 เพื่อควบคุมดูแลให้การจัดการศึกษาปฐมวัยในโรงเรียนราษฎร์เป็นไปในแนวเดียวกัน  ในปีพ.ศ.2464 ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญคือ ได้มีดารประกาศพระราชบัญญัติประถมศึกษา สาระสำคัญของพระราชบัญญัตินี้คือ บังคับให้เด็กทุกคนที่มีอายุตั้งแต่7ปีบริบูรณ์เรียนโดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน
         นอกจากนั้นในปีเดียวกันนี้ยังได้มีการปรับโครงการศึกษาใหม่ โดยดัดแปลงจากโครงการศึกษาฉบับ พ.ศ.2456 และฉบับแก้ไข พ.ศ.2458 โดยมีข้อความที่ใช้คล้ายคลึงกันเช่น แบ่งการศึกษาออกเป็น2ประเภท คือ สามัญศึกษาและวิชาสามัญศึกษา แบ่งเป็นชั้นประถมศึกษา 5 ปี ชั้นมัธยมศึกษา 8 ปี การกำหนดอายุนักเรียนเทียบเข้าชั้นตามหลักสูตรสามัญศึกษา สำหรับชั้นประถมศึกษาเป็นดังนี้
           1.ปีที่ 1 อายุปีที่ 8
           2.ปีที่ 2 อายุปีที่ 9
           3.ปีที่ 3 อายุปีที่ 10
           4.ปีที่ 4 อายุปีที่ 11
           5.ปีที่ 5 อายุปีที่ 12
       สำหรับโรงเรียนอนุบาลไม่ว่ามีในที่แห่งใด อยู่เบื้องต้นของประถมศึกษาแสดงว่าโรงเรียนอนุบาลได้มีขึ้นแล้วในสมัยนั้น

6.การจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลละอออุทิศมีความเป็นมาอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ ดังได้กล่าวมาแล้วว่าหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง การศึกษาปฐมวัยได้รับความสนใจมากขึ้น นักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาระดับนี้ตระหนักถึงความสำคัญของวัยเด็ก จึงจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยนี้กว้างขวางขึ้นมีการเตรียมการจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลของรัฐ และขยายโรงเรียนไปยังส่วนภูมิภาค สรุปได้ดังนี้ (อารี รังสินันท์, 2539)
                  2.1  การเตรียมการจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกและการขยายโรงเรียนอนุบาลของรัฐ ดังที่กระทรวงธรรมการและผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษาได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาปฐมวัยจึงได้เริ่มเตรียมการจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลศึกษาขึ้น ได้ตั้งคณะกรรมการจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลของกระทรวงขึ้นในปี พ.ศ. 2480 ประกอบด้วย
1) นายนาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา
2) ม.ล.มานิจ ชุมสาย
3) นางจำนง เมืองแมน (นางพิณพาทพิทยเพท)
ในระหว่างปี 2480-2482 กระทรวงธรรมการได้จัดส่งครูหลายท่านไปศึกษาและดูงานการศึกษาปฐมวัยในประเทศญี่ปุ่น อาทิ นางจิตรา  ทองแถม ณ อยุธยา  ไปศึกษาและดูงาน ณ ประเทศญี่ปุ่นเวลา 6 เดือน และได้กลับมาจัดเตรียมการดำเนินงานโรงเรียนอนุบาล และได้ส่งนางสาวสมถวิล  สวยสำอาง (นางสมถวิล สังขะทรัพย์) ไปศึกษาด้านการศึกษาปฐมวัย ณ ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2482 กระทรวงธรรมการได้คัดเลือกครู 3 คน คือนางสาวสวัสวดี วรรณโกวิท  นางสาวเอื้อนทิพย์ วินิจฉัยกุล (นางเอื้อนทิพย์ เปรมโยธิน) และนางสาวเบญจา ตุงคะสิริ (คุณหญิงเบญจา แสงมะลิ) ไปศึกษาการอนุ ณ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งท่านเหลานี้ก็ได้กลับมาเป็นผู้นำทางการศึกษาปฐมวัยของไทยในเวลาต่อมา
                    2.2  การเปิดโรงเรียนอนุบาล เมื่อกระทรวงธรรมการได้มีการเตรียมการพ้อมทั้งในด้านบุคลากรและอื่นๆ จึงได้เปิดโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกของรัฐขึ้นในจังหวัดพระนครชื่อว่าโรงเรียนอ
นุบาลละอออุทิศ ได้รับเงินบริจาคในกองมรดกของ น.ส.ละออ ลิ่มเซ่งไถ่ สำหรับสร้างอาคารเรียนโรงเรียนอนุบาลละอออุทิศได้เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2483 ในสังกัดกรมการฝึกหัดครูซึ่งมี ม.ล.มานิจ ชุมสาย เป็นหัวหน้ากองฝึกหัดครูในขณะนั้น และมีนางจิตรา ทองแถม ณ อยุธยา เป็นครูใหญ่
โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศที่จัดทั้งขึ้นในระยะแรกนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อทดลองการจัดการการอนุบาลศึกษาและเพื่อทดลองความสนใจความเข้าใจประชาชนในเรื่องการศึกษาปฐมวัย รับนักเรียนชายหญิงที่มีอายุระหว่าง 3 ปีครึ่งไปจนถึง 6 ปี หรือจนเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษา
                   2.3 ความมุ่งหมายและวิธีการอบรม
                            2.3.1 เพื่อเตรียมสภาพจิตใจของเด็กให้พร้อมที่จะรับการศึกษาในชั้นต่อไป หัดให้ใช้เครื่องมือต่างๆ ในการเรียน การเล่น และการประดิษฐ์ อบรมให้เป็นคนช่างคิดช่างทำ ขยันไม่อยู่นิ่งเฉย และเป็นคนว่องไวกระฉับกระเฉง
                           2.3.2  เพื่ออบรมเด็กให้เป็นคนมีความสังเกต มีไหวพริบ เฉลียวฉลาด คิดหาเหตุผลให้เกิดความเข้าใจด้วยตนเอง มีความพากเพียร พยายาม อดทนไม่จับจด
                           2.3.3 เพื่ออบรมให้เป็นคนพึ่งตนเอง สามารถทำ หรือปฏิบัติอะไรได้ด้วยตนเอง เด็กในโรงเรียนอนุบาลนี้จะต้องอบรมให้ช่วยตัวเองให้มากที่สุด โดยไม่มีพี่เลี้ยงคอยตักเตือน หรือคอยรับทำให้ ครูเป็นแต่ผู้คอยดูแลห่างๆ เท่านั้น
                           2.3.4 เพื่อหัดมารยาทและศีลธรรมทั้งในส่วนตัวและการปฏิบัติต่อสังคมและหัดมารยาทในการนั่ง นอน เดิน และรับประทาน ฯลฯ หัดให้เป็นคนสุภาพเรียบร้อย ฝึกนิสัยให้เป็นคนมีศีลธรรมอันดี มีจิตใจเข้มแข็ง มีระเบียบ รักษาวินัย มีความสามัคคีซึ่งกันและกัน
                           2.3.5 เพื่อปลูกฝังนิสัยทางสุขภาพอนามัย รู้จักระวังสุขภาพของตน เล่นและรับประทานอาหารเป็นเวลา รู้จักรักษาร่างกายให้สะอาด และแข็งแรงอยู่เสมอ
                           2.3.6 เพื่ออบรมให้เด็กเป็นคนร่าเริง มีการสอนร้องเพลง และการเล่นที่สนุกสนานทั้งนี้เพื่อจะได้เป็นนักสู้ซึ่งเต็มไปด้วย ความรื่นเริงเบิกบานและคิดก้าวหน้าเสมอ


7.แผนการศึกษาชาติฉบับพ.ศ.2503 แบ่งการศึกษาเป็นกี่ระดับ จงอธิบาย
                  ตอบ 4 ระดับคือ
                           1.อนุบาลศึกษา
                           2.ประถมศึกษา
                           3.มัธยมศึกษา
                           4.อุดมศึกษา

8.ในปีพ.ศ.2523 กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานใดให้รับผิดชอบการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา
                  ตอบ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ


9.หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 มีความเป็นมาอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย
การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็ก ตั้งแต่แรกเกิดถึง ๕ ปี* บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ที่สนองต่อธรรมชาติ และพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ตาม ศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคม-วัฒนธรรม ที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม
หลักการ
เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการ ตลอดจน การเรียนรู้อย่างเหมาะสม ด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่ เด็กกับผู้เลี้ยงดู หรือบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กมีโอกาสพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นของพัฒนาการทุกด้าน อย่างสมดุล และเต็มตามศักยภาพ โดยกำหนดหลักการ ดังนี้
๑. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัย ทุกประเภท
๒. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และวิถีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย
๓. พัฒนาเด็กโดยองค์รวมผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย
๔. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข
๕. ประสานความร่วมมือระหว่างครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษาในการพัฒนาเด็ก

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี จัดขึ้นสำหรับพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาเด็ก เพื่อใช้เป็นแนวทางในการอบรมเลี้ยงดูและจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเหมาะสมกับเด็กเป็นรายบุคคล

จุดหมาย
การพัฒนาเด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี มุ่งส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถ ความสนใจ และความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อให้เด็กมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ดังนี้
๑. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขภาพดี
๒. ใช้อวัยวะของร่างกายได้คล่องแคล่วประสานสัมพันธ์กัน
๓. มีความสุขและแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับวัย
๔. รับรู้และสร้างปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
๕. ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย
๖. สื่อความหมายและใช้ภาษาได้เหมาะสมกับวัย
๗. สนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว
การจัดประสบการณ์
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้จาก ประสบการณ์ตรง เกิดความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม ได้พัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งสามารถจัดในรูปของกิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่น ดังนี้
๑. หลักการจัดประสบการณ์ ควรคำนึงถึงสิ่งสำคัญต่อไปนี้
        ๑.๑ เลี้ยงดูเด็กให้มีสุขภาพที่ดีและปลอดภัย
        ๑.๒ มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กด้วยวาจาและท่าทีที่อบอุ่นเป็นมิตร
        ๑.๓ จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ความต้องการและพัฒนาการของเด็ก
        ๑.๔ จัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ตามวัยของเด็ก
        ๑.๕ ประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
        ๑.๖ ประสานความร่วมมือระหว่างครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษาในการพัฒนาเด็ก
๒. แนวการจัดประสบการณ์
        ๒.๑ ดูแลสุขภาพอนามัยและตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางร่างกายและจิตใจของเด็ก
        ๒.๒ สร้างบรรยากาศของความรัก ความอบอุ่น ความไว้วางใจ และความมั่นคงทางอารมณ์
        ๒.๓ จัดประสบการณ์ตรง ให้เด็กได้เลือก ลงมือกระทำและเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง ๕ และการเคลื่อนไหวผ่านการเล่น
        ๒.๔ เปิดโอกาสให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลที่แวดล้อมและสิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก อย่างหลากหลาย
        ๒.๕ จัดสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องใช้และของเล่นที่สะอาด ปลอดภัย เหมาะสมกับเด็ก
        ๒.๖ ใช้การสังเกตและติดตามการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
        ๒.๗ ให้ครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษามีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก

10.จงวิเคราะห์ถึงการศึกษาปฐมวัยของไทยตามความรู้ความเข้าใจของนักศึกษา
ตอบ การศึกษาปฐมวัยในอดีตมีมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงสุโขทัย และได้มีการพัฒนามาจนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่5 ได้มีการจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กแห่งแรกของประเทศไทย โดยดำริของพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสินีนาฎ ในรัชกาลที่5 นับตั้งแต่บัดนั้นก็ได้มีการจัดการศึกษาปฐมวัยโดยมีรูปแบบที่เป็นทางการตามโครงการศึกษา ปีพ.ศ.2441 ซึ่งเป็นโครงการศึกษาฉบับแรกที่มีการจัดการศึกษา "มูลศึกษา" ใน3รูปแบบ คือ โรงเรียนบุรพบท โรงเรียน กข นโม และโรงเรียนกินเดอกาเตน และรัฐได้เริ่มให้ความสำคัญของการศึกษาในระดับปฐมวัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2441 เป็นต้นมา และพัฒนาการของการศึกษาปฐมวัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 จนกระทั่งถึงหลักสูตรระดับก่อนประถมศึกษา พ.ศ. 2540 ได้มีการปรับปรุงและพัฒนามาโดยตลอดเพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย ทั้งในด้านธรรมชาติพัฒนาการเด็ก โดยรัฐได้กำหนดนโยบายการพัฒนาการจัดการศึกษาให้เด็กปฐมวัย โดยคำนึงถึงแนวคิดเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เต็มศักยภาพสูงสุด โดยใช้กับเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งถึง 5 ปี เพื่อให้หน่วยงานที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัย ได้จัดประสบการณ์ให้มีคุณภาพเป็นไปในทิศทางและมีมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้เด็กปฐมวัยเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพในการพัฒนาประเทศไทยต่อไป

                                🙏🙏🙏
                   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

😊แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 8😊 🔰🔰🔰 1. จงอธิบายถึงรูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน  ตอบ  รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน สาม...